รู้หรือไม่ ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม มหันตภัย พายุ ส่วนใหญ่ ล้วนเกิดจากความไม่สมดุลของธรรมชาติ ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

ภัยแล้งในประเทศไทยเกิดจากปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ อาทิ สภาวะอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนมากกว่าปกติ ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุมทำให้ฝนตกในพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง ความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยน้อยกว่าปกติ ผลกระทบจากปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ลอยขึ้นไปเคลือบชั้นล่างของชั้นโอโซน ส่งผลให้ความร้อนสะสมอยู่ในอากาศใกล้ผิวโลกมากขึ้น เป็นเหตุให้อากาศร้อนกว่าปกติ


แม้ภัยแล้งไม่มีน้ำจะกระทบกับคนส่วนใหญ่ และเกี่ยวข้องกับชีวิติประจำวันมากกว่า COVID-19 แต่เชื่อหรือไม่ ?คนส่วนใหญ่ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาระดับโลก กลับใช้ชีวิตตามปกติเหมือนไม่มีเคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย

โดยข้อมูลจาก PAGE TOO YOUNG TOO DIE FOR

ค้นพบว่าประชากรกว่า3พันล้านคนอาจจะต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนจนอยู่ไม่ได้ในปี2070 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว

จากการศึกษาพบว่าประชากรกว่า3พันล้านคนอาจจะต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่ร้อนเกินทน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง​29​ องศาเซลเซียส ภายในปี 2070

ปัจจุบันหนึ่งในสถานที่ๆร้อนที่สุดในโลก ได้แก่ทะเลทราย Sahara มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 29 องศาเซลเซียส สถานที่ที่อากาศร้อนสุดโต่งนี้คิดเป็น 0.8% ของแผ่นดินทั่วโลก แต่งานวิจัยนี้พบว่าอนาคต จะมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนเกินอยู่อาศัยนี้ ขยายเพิ่มขึ้นถึง 19% ของทั่วโลก กระทบประชากรมนุษย์กว่า 3500 ล้านคนในปี 2070 บริเวณเหล่านั้นได้แก่ แอฟริกา อินเดีย ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยนักวิจัยได้ใช้ข้อมูลประชากรจากองค์การสหประชาชาติ คาดว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 3องศาเซลเซียส​ แม้ประเทศต่างๆจะทำตามข้อตกลง​Paris Climate Agreementแล้วก็ตาม และแบบเลวร้ายสุด อนาคตบางพื้นที่บนโลกอุณหภูมิอาจสูงขึ้นถึง 7.5องศาเซลเซียส ภายในปี 2070 งานวิจัยยังชี้ว่า ทุกๆ 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้คนกว่า หนึ่งพันล้านต้องย้ายที่อยู่เพื่อหลีกหนีอุณหภูมิที่ร้อนเกินอาศัย

ก่อนหน้านี้ IPCC (Intergovernmental Panel of Climate Change) ได้ออกมาเตือนเมื่อปี 2018 ว่ามนุษย์ควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศา เซลเซียสภายในปี 2030 เพื่อยับยั้งการเสียหายถาวรของสภาพอากาศและระบบนิเวศน์ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน ดูเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่มีประเทศใดสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้า

การศึกษาพบว่าประชากรโลกอาศัยในกรอบอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ​11-15องศาเซลเซียส เป็นส่วนมาก และส่วนน้อยอยู่ในอุณหภูมิช่วง 20-25องศาเซลเซียส ผู้คนอาศัยอยู่อย่างนี้มาเป็นเวลากว่าพันปี

อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปอีก3องศาเซลเซียส จะทำให้ผู้คนจำนวนมากจะต้องเจอกับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมต่อร่างกายมนุษย์

คุณ Tim Lenton ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับ BBC ว่า แผ่นดินใหญ่ร้อนขึ้นเร็วกว่าในมหาสมุทร ดังนั้นแผ่นดินใหญ่จะร้อนขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียส

จำนวนของประชากรโลกส่วนใหญ่​ รวมถึงแนวโน้มการแพร่พันธุ์ของประชากร​ จะพบอาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศร้อน​เช่น ในแถบแอฟริกาซาฮาร่า เมื่อนำมาคำนวณจะทำให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของประชากรโลกสูงขึ้นมากกว่า3องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน​ ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ออสเตรเลียเหนือ อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ

ตะวันออกกลางบางส่วน

ในการศึกษามีความกังวลถึงคนยากจนในพื้นที่ดังกล่าว ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหลบร้อนได้

Tim Lenton กล่าวว่า การศึกษานี้ไม่ใช่แค่เรื่องคนมีเงินที่จะอาศัยอยู่ในบ้านแล้วเปิดแอร์หลบร้อนเราต้องคำนึงถึงคนที่ไม่สามารถหลบภัยจากสภาพอากาศได้ หลักๆที่งานวิจัยนี้อยากจะสื่อคือลดและจำกัดภาวะโลกร้อน จะมีประโยชน์มหาศาลในการลดปริมาณคนที่ได้ผลกระทบจากสภาพอากาศ คาดการณ์ว่าผู้คนพันล้านคนจะได้รับผลกระทบ ต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ดังนั้นทุกๆองศาที่เราลดลงได้ จะช่วยลดปริมาณผู้คนที่ได้รับผลกระทบลง

งานวิจัยนี้คำนวณโมเดลที่ร้ายแรงที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเรายังคงมีหวังที่จะลดการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โดยรัฐบาลต่างๆต้องออกมาตรการควบคุมภาวะโลกร้อน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เคร่งครัดขึ้น ปรับตัวโครงสร้างทางสัมคมและเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนก่อนจะสายเกินไป